ผลวิจัยพบผู้หญิงไทยต้องการเสริมทักษะการทำงาน

หญิงไทยเกินกว่าครึ่งที่ช่วงอายุ 35 ปีหรือมากกว่านั้น มีแรงบันดาลใจในการก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการเนื่องจากแรงงานหญิงส่วนใหญ่ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สนใจที่จะเรียนหลักสูตรเสริมทักษะเพิ่มเติมเพื่อสร้างและเสริมทักษะทางการทำงาน

ผลสำรวจโดย She Loves Data (SLD) องค์กรไม่แสวงผลกำไรในสิงคโปร์ พบว่า 87% ของพนักงานหญิงในภูมิภาค มีความพร้อมจะลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรวิชาชีพปีนี้ ซึ่งมี 3 อันดับแรกได้แก่ ไอที คอมพิวเตอร์ และการเขียนโปรแกรม คิดเป็น 33%

การตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย เป็นหลักสูตรที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในกลุ่มพนักงานหญิงในประเทศไทย โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามใน 2 กลุ่มอายุ ได้แก่ พนักงานอายุ 16-34 ปี และผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป หลักสูตรที่ได้รับความนิยมรองลงมาคือเทคโนโลยีการตลาดและการโฆษณา โดย 58% ของผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป และ 46% ของพนักงานหญิงอายุ 16-34 ปี ที่มีความสนใจเสริมทักษะเทคโนโลยีการตลาดและโฆษณา

เกือบ 80% ของพนักงานหญิงในภูมิภาคนี้ชอบเรียนหลักสูตรวิชาชีพทางออนไลน์ จากผลสำรวจที่จัดทำร่วมกับ Milieu Insight บริษัทวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลระดับนานาชาติ

Jana Marle-Zizkova ผู้ร่วมก่อตั้ง SLD กล่าวว่า “ในขณะที่ธุรกิจต่างๆ ในทุกอุตสาหกรรมยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล บริษัทและนายจ้างมองเห็นการเติมเต็มทักษะดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญ”

การวิจัยเผยให้เห็นแรงจูงใจอันดับต้น ๆ ของผู้หญิงไทยในการสมัครเรียนหลักสูตรวิชาชีพในปีนี้ คือ 52% ต้องการที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน 43% ต้องการจัดตั้งธุรกิจของตนเอง 41% ต้องการเพิ่มโอกาสในการทำงานหรือการจ้างงาน

34% ของผู้ตอบแบบสำรวจในภูมิภาคนี้ กล่าวว่าพวกเขาต้องการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในขณะที่ 28% ต้องการพัฒนาทักษะของตนเพื่อเพิ่มเงินเดือน

Antarika Sen นักวิจัยอาวุโสของ Milieu Insight กล่าวว่า “สิ่งนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญในการพัฒนาส่วนบุคคลและวิชาชีพ”

ผู้หญิงประมาณ 5 ใน 10 คนในสิงคโปร์กล่าวถึงคุณวุฒิที่ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจ โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่องค์กรต่างๆ จะต้องจัดหาเส้นทางที่ปฏิบัติได้จริงสำหรับการเติบโตทางอาชีพของผู้หญิง

ข้อมูลล่าสุดจาก UN แสดงให้เห็นว่าโลกไม่น่าจะมีความเท่าเทียมทางเพศภายในปี 2573 รายงาน “Gender Snapshot 2022” พบว่าการมีส่วนร่วมของแรงงานสตรีในปี 2565 คาดว่าจะยังต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโรคระบาดใน 169 ประเทศและพื้นที่ที่ 50.8% เทียบกับ 51.8% ในปี 2562 ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศคาดว่าจะขยายกว้างขึ้นใน 114 ประเทศและพื้นที่เมื่อเทียบกับปี 2019 ช่องว่างระหว่างเพศในจำนวนชั่วโมงการทำงานในการจ้างงานขยายไปทั่วโลก ซึ่งจะเพิ่มช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศ

ที่มา: Bangkokpost.com